7 อันตรายต่อสุขภาพหากติดมือถือเกินไป

7 อันตรายต่อสุขภาพหากติดมือถือเกินไป

ทุกวันนี้โทรศัพท์มือถือกลายเป็นหนึ่งชีวิตขงผู้คนไปโดยไม่รู้ตัว เนื่องจากหลาย ๆ สิ่งอยู่ในมือถือมากขึ้น ทำให้มีมือถือเครื่องเดียวก็มีสามารถทำอะไรได้หลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นพูดคุยสื่อสาร ดูหนัง ฟังเพลง เล่นเกม ซื้อของ ไปจนถึงทำงานเลยทีเดียว

ซึ่งการที่ทุกสิ่งทุกอย่างอยู่ในโทรศัพท์นั้น ทำให้คนเราจะต้องชีวิตกับมือถือมากขึ้น นั่นก็คือเราก็ต้องจ้องมือถือเป็นเวลานาน เมื่อเราใช้มันต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานโดยไม่พัก ใช้เป็นประจำทุกวัน จึงอาจกลายเป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บจากการใช้เทคโนโลยีและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์โดยไม่รู้ตัว มีผลกระทบต่อสุขภาพกาย จิตใจ และสังคม ทั้งทางตรงและทางอ้อม วันนี้เราเลยจะพาไปดูกันถึง 7 อันตรายต่อสุขภาพหากติดมือถือเกินไป ซึ่งมีดังนี้

อาการที่เกี่ยวกับดวงตา

เวลาที่เราใช้พวกหน้าจอโทรทัศน์ คอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟน และแท็บเล็ต เราจำเป็นต้องเพ่งสายตาจ้องหน้าจอที่มีแสงจ้าเหล่านั้น หากจ้องนานเกินไป ก็อาจเกิดผลเสียต่อดวงตาได้หลายทาง เช่น อาการสายตาล้า ปวดตา ตาแห้ง ตามัว สำหรับเด็กเล็กอาจส่งผลให้เกิดปัญหาสายตาสั้นได้ และอาจจะทำให้เซลล์ในดวงตาตายได้ ซึ่งหนักถึงขั้นสูญเสียการมองเห็นเลยทีเดียว ถ้าเราไม่ดูแลรักษาและป้องกันดวงตาของเราให้ดี

อาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ กระดูก ข้อส่วนต่าง ๆ

ที่มักจะพบประจำก็เช่น นิ้วล็อก ปวดคอ ปวดหลัง ปวดบ่า ปวดไหล่ อาจจะรวมไปถึงความเสื่อมกระดูก ข้อต่อกระดูก หรือหมอนรองกระดูกบริเวณคอ อาการ Cellphone Elbow คือ อาการปวดชา หรือเหน็บชาบริเวณปลายแขนและมือ เนื่องจากการถือสมาร์ทโฟนด้วยท่าทางที่งอแขนเป็นมุมแคบกว่า 90 องศานานเกินไป

หรืออาจจะเป็นโรค RSI (Repetitive Strain Injury) ที่ทำให้เรามีอาการตึงหรือเจ็บข้อต่าง ๆ ได้แก่ เจ็บปวดบริเวณข้อมือ นิ้วมือ มือ แขน ข้อศอก มีอาการมือชาหรืออ่อนแรง มือไม่สามารถทำงานประสานกัน ซึ่งอาการเหล่านี้เกิดจากการที่เราใช้งานข้อมือนาน ๆ ซ้ำ ๆ และเป็นประจำ

โรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร / ระบบขับถ่าย

นอกจากนี้พฤติกรรมการติดโทรศัพท์หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ ยังอาจทำให้มีปัญหาเกี่ยวกับอวัยวะในระบบทางเดินอาหารและการขับถ่าย เช่น การกินอาหารไม่ตรงเวลา กินแต่อาหารที่ไม่มีประโยชน์ ขยับเขยื้อนร่างกายน้อย และพวกที่ชอบนั่งแช่เล่นโทรศัพท์ในห้องน้ำนาน ๆ อาจทำให้มีอาการท้องผูก ท้องร่วง หรือริดสีดวงทวาร

โรคอ้วน / โรคขาดสารอาหาร

แม้ว่าพฤติกรรมการติดมือถือจะไม่ได้ส่งผลโดยตรงให้เกิดโรคอ้วน แต่สำหรับผู้ที่จดจ่ออยู่แต่กับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ โดยการนั่งทั้งวันไม่ยอมลุกเดินหรือขยับเขยื้อนร่างกายไปทำอย่างอื่นเลย คือปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้เกิดโรคอ้วนและโรคเรื่อรังอื่น ๆ มีงานวิจัยของมหาวิทยาลัยซิมอน โบลิวาร์ (SBU) ประเทศโคลอมเบีย ระบุว่าคนวัยหนุ่มสาวที่มีพฤติกรรมติดสมาร์ทโฟน มีความเสี่ยงต่อโรคอ้วน และปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องตามมา เช่น เบาหวาน ความดัน และโรคเกี่ยวกับหัวใจ

เกี่ยวกับสภาพจิตใจ

มันคือความผิดปกติทางด้านอารมณ์และสภาพจิตใจ ที่เกิดขึ้นจากการติดโทรศัพท์ ติดโซเชียลมีเดีย ติดเกม เทคโนโลยีมีประโยชน์มากก็จริง แต่ถ้าใช้อย่างไม่ระมัดระวัง ขาดการควบคุม ใช้ในทางที่ไม่เหมาะสม มันก็มีโทษเช่นกัน ที่เห็นได้ชัดที่สุดคือทางด้านอารมณ์ของคนที่ติดมือถือจนขาดไม่ได้ ความรู้สึกที่จะเกิดจขึ้นเมื่อพวกเขาไม่มีโทรศัพท์ จะทำให้พวกเขากระวนกระวาย โกรธ โดดเดี่ยว ไม่มั่นคง ไม่ปลอดภัย หงุดหงิด ก้าวร้าว ฯลฯ บางคนมีปัญหาในการควบคุมอารมณ์และควบคุมตนเอง รวมถึงความเครียดจากการเสพข่าวสารด้านลบ อยู่ตลอดเวลา

ปัญหาการเข้าสังคม

เพราะอาการติดหน้าจอ ทำให้ปฏิสัมพันธ์ของเรากับคนรอบข้างน้อยลง แม้ว่าเราและเพื่อนจะนั่งอยู่ด้วยกัน แต่มีเรื่องคุยกันน้อยมาก เพราะต่างฝ่ายก็มัวแต่ตั้งหน้าตั้งตาอยู่กับหน้าจอโทรศัพท์ของตนเอง แทนที่จะพูดคุยหรือมีปฏิสัมพันธ์กับคนตรงหน้า จึงมีแนวโน้มว่าผู้ที่ติดโทรศัพท์มือถือ ติดโซเชียลมีเดีย จะแยกตัวออกจากสังคม แล้วไปมีโลกส่วนตัวบนออนไลน์มากกว่า พวกเขาคิดว่าไม่จำเป็นต้องสื่อสารกับใครอื่น ตราบใดที่พวกเขามีโทรศัพท์อยู่กับมือ

เพิ่มความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งสมอง และโรคเกี่ยวกับสมอง

ย้ำว่ามันเป็นการ “เพิ่มความเสี่ยง” ซึ่งไม่ได้หมายความว่าการใช้สมาร์ทโฟนจะทำให้เป็นโรคมะเร็งเสมอไป ซึ่งต้นเรื่องนั้นมาจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่ถูกส่งเข้ามาที่อุปกรณ์สื่อสารโดยตรงระหว่างที่เราใช้งาน ซึ่งการใช้สมาร์ทโฟนเป็นเวลานานกว่า 10 ปี สามารถเพิ่มความเสี่ยงที่จะป่วยเป็นโรคมะเร็งสมองได้ถึง 2 เท่า โดยมะเร็งจะเกิดกับสมองด้านที่ใช้สมาร์ทโฟนเป็นประจำ

แหล่งที่มา : www.sanook.com