เรื่องควรรู้ ถ้าสาวๆไม่อยากเป็นมะเร็ง
มะเร็งกับผู้หญิงเกิดขึ้นได้อย่างไร
อวัยวะเพศหญิงทุกส่วนมีโอกาศเกิดมะเร็วได้ ตั้งแต่อวัยวะภายนอกถึงภายใน เช่น ช่องคลอด ปากมดลูก กล้ามเนื้อ มดลูก เป็นต้น โดยเป็นการเกิดโรคแบบทีละส่วน ไม่เกี่ยวข้องเชื่อมโยงกันแต่อย่างใด สาเหตุของการเกิดะเร็งก็มีอยู่ 2 ปัจจัยหลัอคือ
ปัจจัยภายใน
– ความผิดปกติทางพันธุกรรม เช่น มะเร็งเต้านม และมะเร็งรังไข่ โดยผู้หญิงที่มีประวัติทางญาติเป็นมะเร็งก็มีความเสี่ยงมากถึง 2 เท่า
– ปํญหาบกพร่องของระบบอาจเป็นปัญหาที่มีมาแต่กำเนิด หรือเกิดจากการสะสมจากภายนอกร่วมด้วย ซึ่งส่งผลให้เป็นโรคมะเร็งต่างๆ ในทุกอวัยวะของร่างกาย
ปัจจัยภายนอก
– สารเคมีบางชนิด หรือสารก่อมะเร็งที่ปนเปื้อนมากับอาหาร โดยเฉพาะอาหารแบบสุกดิบ ปิ้ง ย่าง และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เช่น ฮอร์โมนเอสโตรเจน ที่มากจนเกินไป อาจส่งผลต่อการกระตุ้นมะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูกและมะเร็งตับได้
– การสูบบุหรี่หรือการรับมลพิษทางอากาศเป็นประจำ จะเป็นการกระตุ้นมะเร็งปอดแล้ว ยังส่งเสริมการเป็นมะเร็งเต้านม และมะเร็งปากมดลูกได้
– การติดเชื้อ HPV (Human Pappillomaviruses) จากการมีเพศสัมพันธ์ ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดโรคมะเร็งปากมดลูกมากถึง 80-90 เปอร์เซ็นต์ รองลงมาคือมะเร็งช่องคลอดและมะเร็งทวารหนัก
– พฤติกรรมการรับประทานแม้จะไม่ใช่ปัจจัยสำคัญของการเกิดโรคมะเร็ง แต่น้ำหนักตัวที่มากเกินพอดี อาจนำมาซึ่งการสูญเสียความแข็งแรง และนำมาซึ่งโรคภัยชนิดต่างๆ ได้อย่างไม่รู้ตัว เช่น ปัญหามดลูกหรือรังไข่ที่อาจลุกลามไปเป็นมะเร็งมดลูก มะเร็งรังไข่ ตลอดจนมะเร็งท่อรังไข่ในอนาคตได้
ป้องกันที่ดี ไม่เป็นมะเร็ง
นอกจากเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดมะเร็งทั้งหลายแล้ว พฤติกรรมทางเพศยังถือเป็นเรื่องยากและถูกมองข้ามจากกลุ่มคน แต่ก็ถือเป็นความโชคดีของคนสมัยใหม่ ที่มีวัคซีนในการช่วยป้องกันการติดเชื้อ HPV การฉีดวัคซีน 1 คอร์ส ก็จะครอบคลุมยาวนานเกือบถึง 10 ปี สามารถฉีดได้ตั้งแต่ในวัยเด็ก วิธีป้องกันต่อมา คือการสวมถุงยางอนามัยทุกครั้งก่อนมีเพศสัมพันธ์
อีกหนึ่งวิธีในการป้องกันมะเร็ง คือ การหมั่นตรวจเช็คสุขภาพประจำปี โดยเฉพาะการตรวจหามะเร็งเต้านม เริ่มตรวจได้ตั้งแต่อายุ 30 ปีขึ้นไป การตรวจเช็คภายในสามารถเริ่มตรวจได้ตั้งแต่อายุ 30 ปี หรือหลังจากการมีเพศสัมพันธ์ในครั้งแรก
เสริมความงามตามสมัยก่อมะเร็งจริงไหม?
แม้ว่าปัจจัยการเกิดมะเร็งในผู้หญิงจะมาจากสาเหตุภายนอกเป็นส่วนใหญ่ แต่ปัจจัยจากสารเคมีทางความงาม เช่น การทำสีผม การเลเซอร์ผิว และเทคนิคการเสริมความงามในปัจจุบัน (ไม่รวมการศัลยกรรมด้วยซิลิโคน เช่น การเสริมจมูก หรือการเสริมนม) ก็ยังไม่ใช่การกระตุ้นเชื้อมะเร็งแต่อย่างใด แต่ใช่ว่าปริมาณการรับสารเคมีจะไม่ใช่สาระสำคัญ ฉะนั้น การควบคุมดูแลสุขภาพ หมั่นตรวจเช็คสุขภาพร่างกาย ตลอดจนการบริโภคสิ่งที่เป็นธรรมชาติแบบปลอดสารเคมี จึงเป็นวิธีลดความเสี่ยงมะเร็งระยะเริ่มต้นได้เป็นอย่างดี